![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการสอน
โครงการสอน (Course Syllabus) วิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร จำนวน 3 หน่วยกิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 1. คำอธิบายรายวิชา พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สภาพภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองท้องถิ่น ชีวประวัติ บุคคลสำคัญในท้องถิ่น ศิลปกรรม หัตถกรรม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา การละเล่น วรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และชุมชนในบริเวณแอ่งสกลนคร การผสมผสานการอนุรักษ์ ส่งเสริม การปรับตัว ของชุมชน เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ของชุมชนในท่ามกลางการพัฒนาของกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อให้ตระหนักและเห็นคุณค่าในอัตลักษณ์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน (การศึกษามุ่งเน้นการค้นคว้าการศึกษาชุมชนท้องถิ่นด้วยวิธีการศึกษาตามแนวทางมานุษยวิทยาสังคมวิทยา และการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เป็นสำคัญ และให้มีการนำเสนอผลงานการแสดงเชิงประจักษ์) 2. วัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม และการปรับประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาแอ่งสกลนคร 2. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมท้องถิ่น หัตถกรรม ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี ภาษา วรรณกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ของแอ่งสกลนคร รวมทั้งการมีความรักความผูกพัน กับท้องถิ่น 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา ปรับประยุกต์ ผสมผสานการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาท้องถิ่นในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุกต์โลกาภิวัตน์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน 3. กำหนดการสอน สัปดาห์ที่ เนื้อหาการสอน อาจารย์ผู้สอน 1 นักศึกษาลงทะเบียนเรียน/พบ อ.ที่ปรึกษา อ.วิชาญ 2 แนะแนวกิจกรรมการเรียนการสอนทัศนะบางประการเกี่ยวกับวัฒนธรรม อ.วิชาญ 3 ภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ ในแอ่งสกลนคร อ.สพสันติ์ 4 ประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม อ.ปรีชา อ.วิชาญ 5 ศิลปกรรมโบราณคดี ความเชื่อ ศาสนา อ.นพดล 6 ภาษาและวรรณกรรม อ.ดนัย 7 คุณค่าและความหมายของภูมิปัญญา/นักศึกษาแบ่งกลุ่ม วิทยากร 8 ภูมิปัญญาด้านอาหารการกิน/นักศึกษาส่งรายชื่อ ผศ.ดร.ชไมพร 9 ภูมิปัญญาด้านการแพทย์/นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา/แนะแนวกิจกรรมการศึกษาชุมชน อ.เกษวดี อ.นำพร 10 การเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน/นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา/การตั้งวัตถุประสงค์/การตั้งคำถาม ผศ.ฐิติรัตน์ ผศ.ยุพิน 11 การปรับประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากร/อ.ปทุมทิพย์ 12 กิจกรรมการศึกษาชุมชน รายวิชา 13 กิจกรรมการศึกษาชุมชน รายวิชา 14 กิจกรรมการศึกษาชุมชน รายวิชา 15 ทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชา 16 นำเสนอผลงานเชิงประจักษ์/สอบปลายภาค รายวิชา 3. การวัดผลประเมินผล 1. คะแนนเก็บกลางภาค 60 คะแนน แบ่งเป็น - เข้าชั้นเรียน 10 คะแนน - รายงาน 20 คะแนน - การนำเสนอเชิงประจักษ์ 30 คะแนน 2. คะแนนสอบปลายภาค 40 คะแนน - อัตนัย 40 คะแนน 4. เกณฑ์การวัดผลประเมินผล 80 - 100 = A 75 - 79 = B+ 70 - 74 = B 65 - 69 = C+ 60 - 64 = C 55 – 59 = D+ 50 – 54 = D 0 – 49 = F 5. แหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล 5.1 สำนักวิทยบริการ 5.2 ห้องสมุดสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม (อาคาร 1 ชั้น 2) 5.3 ห้องสมุดเตียง ศิริขันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคาร 3 ชั้น 2) 5.4 อินเตอร์เน็ต 6. เอกสารสำหรับศึกษาประกอบการเรียนการสอน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์, 2550. ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง. กลุ่มชาติพันธุ์ในสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2547. ปรีชา ธรรมวินทร. ขบวนการเสรีไทยสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2547. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร. สกลนคร : สมศักดิ์การพิมพ์, 2550. เสรี พงศ์พิศ. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2536. สุรัตน์ วรางรัตน์. ระบบข้อมูลวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : สกลนครการพิมพ์, 2540. ศรีศักร วัลลิโภดม. แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2538. ----------------------. วัฒนธรรมปลาแดก. สกลนคร : อร่ามการพิมพ์, 2541. อมรา พงศาพิชญ์. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. อานันท์ กาญจนพันธุ์. ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม : การทะลุกรอบและกับดัก ของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2549. อ.วิชาญ ฤทธิธรรม โทร. 08 – 4428 – 9579 นายศรีสุข ผาอินทร์(พี่ทิก) โทร. 08 – 5759 – 2548 ที่ตั้ง ห้อง 1111 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ฯ (หลังใหม่) สำนักงาน โทรศัพท์ / โทรสาร 042 – 970 – 239 ภายใน 405 มือถือ 08 – 1964 – 1088 เว็ปไซต์ http://cultural.snbs.snru.ac.th วันที่ : 3 มิ.ย. 2554 ที่มา : อ่าน : 3049 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|